5 เรื่องที่เรียนรู้จากคู่แข่งในธุรกิจ

การทำธุรกิจและการตลาดในยุคนี้ทุกคนรู้ดีว่ายากขนาดไหน แต่อีกสิ่งที่เรารู้สึกว่าอยากเอามาเล่าและเป็นตัวทำให้เราฮึดสู้ขึ้นก็คือ “คู่แข่ง”

ช่วงแรกที่เราเข้ามาในตลาดนี้ เราก็ทำการ Research ก่อนเลยว่า มีแบรนด์อะไรเป็นเจ้าตลาดบ้าง ทำ Marketing อย่างไร อันนี้เราคิดว่าทุกคนน่าจะทำกันดี แต่ความน่ารักของตลาดนี้เรารู้สึกได้ว่า มีการเคลื่อนไหว พัฒนาตลอดเวลา และมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาเรื่อยๆ มาพร้อมวิธีใหม่ๆ ซึ่งเราว่าเรียนรู้จากคู่แข่งก็เป็นอีกมุมที่คนไม่ค่อยมองเหมือนกัน วันนี้เลยอยากเล่า 5 เรื่องที่เราเรียนรู้จากคู่แข่งกันนี่แหละ
1
#หาจุดที่แตกต่างให้ตัวเองให้ได้ – คู่แข่งแต่ละคนในอุตสาหกรรมนี้คือ ตัวจริง ทำกันมานาน มีธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนเราถ้า เข้าไปเป็นแบรนด์ใหม่ คำถามแรกที่เราเข้ามาในตลาดนี้เลยก็คือ เราจะแตกต่างจากสิ่งที่มีได้ยังไง (และแทบทุกแบรนด์ก็ทำไปเยอะมากแล้ว) อันนี้เป็นคำถามแรกที่เราต้องหาวิธีตอบฉีกออกมาให้ได้
2
#ใช้เทคโนโลยีให้ถูกจุด – อีกข้อนึงที่เรียกว่าเปิดไพ่ได้ในยุคนี้คือ เทคโนโลยี ถ้ามองตรงๆ มันก็คือการ Disruption ธุรกิจ แต่ถ้ามองให้มันเป็น อาวุธ มันก็คือ นวัตกรรมที่ยุคนี้ แบรนด์เก่า หรือ แบรนด์เกิดใหม่ก็สามารถแซงกันได้ตรงนี้ ถ้าเอาเทคโนโลยี หรือ Generative AI มาใช้ได้ถูกจุด
3
#การดูแลทีมเป็นเรื่องที่ควรทำ – อุตสาหกรรมนี้ขนาดใหญ่ และต้องใช้กำลังคนเยอะมาก ดังนั้นสิ่งที่เรียนรู้คือ ควรดูแลทีมงานให้ดี สร้างทีม สร้างกิจกรรม สร้างอะไรใหม่ๆ ให้เค้ารู้สึกมีคุณค่าในสิ่งที่ทำ และสนุกกับการทำงานกับเรา ไม่ใช่แค่บริษัท Corporate ใหญ่อีกต่อไปที่ต้องมี HR แต่การสร้างแบรนด์ใหม่ การมีทีมที่ขยายขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องทำเช่นกัน
4
#ไม่ยึดติด และสนุกกับมัน – อีกสิ่งของ Marketing คือการทำ Content ซึ่งถ้าแบบเก่าคือการตั้งระบบ ทำ Content ที่เล่าแต่เรื่องของตัวเองและแบรนด์ แต่คู่แข่งหลายแบรนด์ก็ทำให้เราเรียนรู้ว่า จริงๆ แล้วเราสามารถสนุก ตามกระแส หรือยืดหยุ่นกับมันได้มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องไปบังคับ ตั้งกฎ สร้าง Content ในรูปแบบเดิมๆ หรือ Platform เดิมๆ อีกต่อไป มันก็จะทำให้แบรนด์เราดูเข้าถึงง่ายมากขึ้น
5
#แบ่งเวลาให้ด้านอื่นของชีวิตบ้าง – เราว่าทุกคนคือ มนุษย์ เราเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์อะไรบางอย่าง แต่อีกด้านเราก็ควรออกไปหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ สถานที่เที่ยวใหม่ ผู้คน แม้กระทั่งคนในครอบครัว ที่อยากให้ทุกคนลองหยุดพักหัวบ้าง ไปทำอะไรชิวๆ บ้าง มันจะเกิดไอเดียใหม่ๆ ในการพัฒนา Product ได้อย่างไม่น่าเชื่อ
ตอบตามตรงว่า สำหรับเรา การที่มีคู่แข่งในตลาดถือเป็นเรื่องที่เราค่อนข้างชอบ เพราะรู้สึกสนุกในการแข่งขัน แต่ละแบรนด์ก็พยายามงัดอาวุธออกมาสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรีมากๆ มันทำให้อุตสาหกรรมนี้เกิด นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดสินค้าที่หลากหลาย เห็นช่องทางธุรกิจใหม่ๆ และที่สำคัญนอกจากคนที่อยู่ในแวดวงนี้แล้ว คนภายใน หรือ ลูกค้า ก็ยังได้สินค้าที่ดีข้ึนกว่าเดิมในทุกๆ วันไปด้วย
อยากให้ทุกคนลองมองเปลี่ยนด้าน จากการต้องเอาชนะคู่แข่งเสมอไป มาลองเปลี่ยนเป็น เราจะยกระดับอุตสาหกรรมนี้ไปพร้อมกัน ก็สนุกดีนะคะ และนี่คือสิ่งที่ทับทิมได้เรียนรู้ตั้งแต่เข้ามาในโลกของกล่องไปกับ PICK A BOX 😀
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและอัพเดทผลงานกล่องกระดาษและอุปกรณ์แพ็คเกจจิ้งอื่น ๆ ได้ผ่านช่องทาง
• Facebook : pickabox.pack
• Instagram : pickabox.pack
• YouTube : pickabox
• Tiktok Shop : @pickabox.pack
หรือช้อปสินค้าพร้อมส่งได้เลย แค่คลิก!
• Website PICK A BOX : pickaboxpack.com
• Shopee : pickabox
• TIKTOK : pickabox
• Lazada : pickabox
• LINEShop : @pickabox.pack

แชร์ 5 สิ่งที่อยากบอกเด็กจบใหม่ คนเริ่มสร้างธุรกิจ จากคนทำงาน 15 ปี!

เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ทับทิมและฮัทได้มีโอกาสไปเป็นCoach ที่ปรึกษาของ session “Meet the Experts” ของวิชาการทำธุรกิจ Entrepreneurial Business Experiences I ของ คณะ Entrepreneurship ของ BUSEM International Program ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทางคณะพยายามให้นิสิตของคณะได้ลองลงทุนทำธุรกิจร่วมหุ้นลงเงินกันจริงๆ ค่ะ

โดยทางอาจารย์ประจำวิชา Entrepreneurial Business Experiences I ได้ให้นิสิตทดลองทำธุรกิจแบบ Even Shares ให้นิสิตมีหุ้นในสินค้าจำนวนสัดส่วนที่เท่ากัน ลงเงินลงทุนเท่ากัน และหากมีกำไรก็จะแบ่งจ่ายเท่าๆ กัน ให้นิสิตได้เรียนรู้การลงมือทำธุรกิจกันเอง, brainstorm ideas จนได้สินค้าของกลุ่มออกมา, เรียนรู้ความขัดแย้งของการมีหุ้นส่วน, และยังได้ลองปรึกษา Coach ใน Session “Meet the Experts” เป็นต้น ซึ่งเป็นอะไรที่คิดว่าน้องๆ นิสิต จะได้รับประสบการณ์ตรง ซึ่งส่วนตัวยังอยากย้อนเวลากลับไปทำอะไรแบบนี้ตอนที่ยังเป็นนิสิตอยู่บ้าง ดีมากๆ เลยค่ะ
น้องๆ ต่างมีความฝันที่อยากจะมีธุรกิจของตัวเองและประสบความสำเร็จ ทับทิมจึงอยากขอเสริมแชร์ถึง 5 Skill Sets ทักษะสำคัญ ในการเริ่มธุรกิจและต่อยอดธุรกิจให้เติบโต จากประสบการณ์การทำงาน 15 ปีที่ผ่านมาค่ะ
01

Growth Mindset

Growth mindset คำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมาสักพักแล้ว และก็เป็นขั้วตรงข้ามของ Fixed mindset เป็นหนึ่งใน Skill sets ที่สำคัญในความหมายของทับทิมคือ การไม่ยึดติดกับความคิดของเราเองก่อน หลายครั้งสิ่งที่เราว่าดีแล้ว ดีพอแล้ว มันยังไม่ดีพอจริงๆ ให้ลองหา “Why? ทำไม?” เพื่อตอบโจทย์ตัวเราเอง และเพื่อสร้างจุดมุ่งหมายในการพัฒนาไอเดียนั้นให้ดียิ่งขึ้น เช่น ทำไมต้องแก้ไข featureในสินค้าอีก ในเมื่อเราคิดว่ามันดีแล้ว? > คำตอบอาจจะเป็น เพราะลูกค้า request หรือสินค้ายังไม่ตอบโจทย์เท่าที่ควร เป็นต้น
ต่อมาให้ลองหา “How? ทำยังไง?” เพื่อให้หาprocess ว่าไอเดียนั้นจะสามารถพัฒนาได้ยังไงอีกบ้าง และหากลองใช้ความพยายามที่เพิ่มขึ้น เราจะสามารถทำให้ไอเดียนั้นดีขึ้นไปอีกได้ยังไงบ้าง Growth mindset จะช่วยให้เราคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการทำงาน ไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ การเรียนรู้ใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาได้ และไม่ยอมจำนนต่ออุปสรรค
02

Financial Analytics

เรื่องจริงที่มีทำธุรกิจก็ต้องใช้เงินลงทุนก่อน แต่มีทุนแล้วก็ใช่ว่าจะทำธุรกิจได้สำเร็จเสมอไป การเริ่มต้นจากการทำ Feasibility Study และกระจาย base, best, worst case และวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break-even analysis) ก็ล้วนแต่มี bias ในช่วงเริ่มต้นทั้งนั้น
แต่ส่วนสำคัญกว่านั้นมากคือหลังเริ่มดำเนินธุรกิจไปแล้ว เจ้าของธุรกิจควรตรวจวัด Financial Health ของธุรกิจให้คล่อง รู้ Cash Flow ทั้ง in-out ของธุรกิจตลอด และสามารถ balance การคำนวณปริมาณการขายและการสั่งซื้อวัตถุดิบ ที่อาจได้รับผลกระทบการ Credit Terms ที่มีทั้ง 15,30,60,90 วันจากคู่ค้าทั้งลูกค้าและผู้ขาย
สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการวิเคราะห์งบการเงินโดยดูอัตราส่วนทางบัญชีของธุรกิจเป็นประจำ ยกตัวอย่างอัตราส่วนที่สำคัญเบื้องต้นได้แก่ EBITDA, Gross Profit Margin, Working Capital เป็นต้น (ทั้งหมดนี้มีสูตรอยู่ใน google ทั้งสิ้น)
ไม่ว่าน้องๆ จะเรียนจบ หรือไปต่อปริญญาโทสาขาไหนก็ตาม เราสามารถสำเร็จในธุรกิจที่เราสร้างเองได้อย่างมั่นคงและมั่นใจ โดยเสริมความรู้การวิเคราะห์งบการเงิน เพื่อให้ไม่เหมือนคนเดินปิดตาไปข้างหน้า ไม่รู้เมื่อไหร่ จะตกหลุม หรือสะดุดอะไรตอนไหน
03

Resillience

มีหลายคนจะแปล Resilience คือความยืดหยุ่น แต่ทับทิมอยากให้เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งและเข้าใจง่ายกว่านั้น คือ ทักษะของ “การล้มและลุกขึ้นเร็ว” ในด้านสภาพจิตใจที่ฟื้นเข้มแข็งขึ้น ภายหลังจากเจอเรื่องที่ยากลำบาก วิกฤต หรือเรื่องที่ทำให้ล้ม ท้อแท้ สิ้นหวัง เครียด ดังนั้นใน process ของการล้มและลุกขึ้นเร็วของ Resilience มีเพิ่มเติมคือคำว่า “Never give up” เข้ามาด้วย
ทับทิมเชื่อว่าคนเราสามารถสร้าง Resilience ส่วนตัวขึ้นมาได้ โดยการเผชิญหน้ากับปัญหามากๆ อย่าไปกลัวที่ต้องเจอปัญหาในทุกวัน อย่าคิดว่าการทำธุรกิจจะสวยงาม หากน้องๆ เจอปัญหาบ่อยๆ เราจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันและแก้ไขมันได้ดีขึ้นทุกๆ วัน เพราะในโลกความเป็นจริง สิ่งที่เจ้าของธุรกิจต้องเจอคือ ปัญหารอบด้าน ทั้งเรื่องของการหมุนเงินให้เพียงพอ การสร้างแบรนด์ การดูแลจัดการลูกค้าและงานขาย อีกทั้งการดูแลพนักงานในองค์กรให้ดีที่สุด ทุกช่วงเวลาอาจเกิดวิกฤต ขึ้นมาได้ ดังนั้น “สู้กับปัญหา เพื่อสร้างจิตใจให้เข้มแข็ง พร้อมลุย” นะคะ
04

Empathy

น้องบางคนอาจมี Empathy หรือความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น อยู่แล้ว แต่บางคนต้องได้รับการฝึกฝน Empathy เป็นทักษะหนึ่งของ Leadership แต่ที่ทับทิมยกขึ้นมาเป็นหัวข้อหลัก เพราะเชื่อว่าการทำธุรกิจหากเราต้องการได้อย่างเดียว โดยที่ไม่นึกถึงฝ่ายตรงข้ามเลย สุดท้ายจะกลายเป็นสถานการณ์ Lose-Lose มากกว่า หนึ่งในการฝึก Empathy คือการลองสวมหมวกว่าเราคือคนนั้น หากเราเป็นคนนั้นเราจะทำยังไง ตัดสินใจยังไง เพื่อให้เวลาที่เราตัดสินใจจะเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดในบริบทนั้นๆ
การฝึก “Give before Take” เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้เราเป็นคนที่ไม่ใช่จะเอาแต่ได้อย่างเดียว ในโลกการทำธุรกิจจริง มีหลักการอยู่หลากหลายแล้วแต่ความเชื่อของแต่ละคน หากแต่ทับทิมใช้หลักการให้มาก่อนรับ เพื่อฝึกให้ตัวเองเป็นคนที่พร้อมพัฒนาให้ดีขึ้นในทุกๆ วัน และได้ผลลัพธ์ดี จึงอยากเอาแชร์ค่ะ
05

Adaptability

แน่นอนว่าในโลกการทำธุรกิจ Skill อย่างเช่นพวก Management, Creativity, Leadership skills ก็สำคัญ แต่พูดในแง่มุมของการทำให้ธุรกิจอยู่รอดได้ Adaptability หรือการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมทั้งในการทำงาน การแข่งขัน สำคัญมากๆ เห็นได้ชัดในช่วงเวลา ก่อนโควิด-ระหว่างโควิด-หลังโควิด มีการเปลี่ยนแปลงรอบด้าน ซึ่งโจทย์สำคัญคือเราจะปรับตัวอย่างไรให้ธุรกิจของเราอยู่รอดได้ ย่อมมีเหตุการณ์มากมายที่จะเกิดขึ้นระหว่าง
แน่นอนว่าน้องๆ อาจได้ทำธุรกิจกับทั้ง Gen X, Gen Y, Gen Z การปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงไปยังช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายอยู่ก็สำคัญมากๆ น้องๆ นิสิตเองจะค่อนข้างเชื่อใน Instagram และ TIKTOK เป็นหลัก ซึ่งถูกต้องสำหรับ Gen Y, Gen Z แต่หากต้องการกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ทับทิมก็ยังอยากแนะนำน้องๆ ให้เข้าถึง Line, YouTube, Facebook ด้วยเช่นกัน
ระยะเวลาการเริ่มต้นธุรกิจจาก 1 ปี ไปจนถึง 5 ปี, 10 ปี, 20 ปี เราในฐานะเจ้าของธุรกิจจะทำอย่างไรให้เราอยู่รอด พนักงานอยู่รอด คู่ค้าอยู่รอด นี่เองคือคำตอบที่ว่าทำไม การปรับตัว ถึงสำคัญ และเป็นการรวมทักษะอย่าง Management, Creativity, Leadership รวบไว้ในคำว่า Adaptability หมดแล้ว
ทั้งหมดก็เป็นหัวข้อที่เรานำไปแชร์น้องๆ แต่รู้สึกว่ามีความรู้และอยากให้ทุกคนรู้เคล็ดลับการทำธุรกิจเบื้องต้นกันนะคะ เลยนำมาแชร์ในเพจดีกว่า ถ้าหากมีคำถามส่วนไหน หรือ Keyword ใดๆ ที่อยากให้อธิบายเพิ่มเติม เพื่อนๆ สามารถคอมเม้นท์เข้ามาได้เลยนะคะ เราสนับสนุนให้คนสร้างธุรกิจของตัวเองกัน เล็กใหญ่ไม่สำคัญ ค่อยๆ เติบโตไปด้วยกันค่ะ 😀
สามารถติดตามความเคลื่อนไหวและอัพเดทผลงานกล่องกระดาษและอุปกรณ์แพ็คเกจจิ้งอื่น ๆ ได้ผ่านช่องทาง
• Facebook : pickabox.pack
• Instagram : pickabox.pack
• YouTube : pickabox
• Tiktok Shop : @pickabox.pack
หรือช้อปสินค้าพร้อมส่งได้เลย แค่คลิก!
• Website PICK A BOX : pickaboxpack.com
• Shopee : pickabox
• TIKTOK : pickabox
• Lazada : pickabox
• LINEShop : @pickabox.pack