เปิดโลกไลเคน บทเรียนจากป่าในกรุง สิ่งเล็กๆ ที่สร้าง IMPACT กับชีวิตของเรา!

ทับทิมกลับมากับ CEO’S Talk อีกครั้งค่ะ รอบนี้อาจจะไม่ได้มาเล่าเรื่องบริษัทมากนัก แต่เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นใหม่ๆ ที่อยากแชร์ให้เพื่อนๆ ฟังอีกเช่นเดิม เพราะใกล้ตัวจนเราไม่คิดถึงมาก่อนเลย

ทุกคนคงไม่มีใครไม่รู้จัก “PM2.5” ฝุ่นจิ๋วที่กลายเป็นหนึ่งในคำติดปากของคนเมืองใหญ่ อากาศในยุคนี้กลายเป็นของมีค่ามากกว่าทองคำไปเสียแล้ว และถ้าอากาศคือปัจจัยที่เราขาดไม่ได้
• ขาดอากาศ 3 นาทีอยู่ไม่ได้
• ขาดน้ำ 3 วันอยู่ไม่ได้
• ขาดอาหาร 3 อาทิตย์ยังพอทนได้
จำง่ายๆ คือเลข 333 ตองสาม จำได้สุดๆ
วันนี้เราเลยไม่ได้จะพูดเรื่องกล่อง หรือบรรจุภัณฑ์ที่คุณถืออยู่ในมือ แต่จะพาทุกคนไป “เข้าป่า” เพื่อทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตจิ๋วๆ ที่เป็นดัชนีวัดคุณภาพของอากาศที่เราหายใจ — ชื่อของมันคือ “ไลเคน (Lichen)”

ไลเคนคืออะไร และทำไมเราควรใส่ใจมัน?

ไลเคนไม่ใช่พืช ไม่ใช่สัตว์ และก็ไม่ใช่เชื้อราเพียวๆ แต่มันคือการอยู่ร่วมกันอย่างสันติของ รา และสาหร่าย ที่รวมพลังกันอยู่ในรูปแบบสิ่งมีชีวิตใหม่ เรียกง่ายๆ ว่าเป็น “ทีมเวิร์กจากธรรมชาติ” ที่ทำหน้าที่ไม่ธรรมดาเลย
สิ่งที่ทำให้ไลเคนน่าสนใจมากๆ คือ “ความเป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศ” หรือ Bio-indicator ที่ไหนมีไลเคนงอกงาม ที่นั่นมนุษย์อยู่ได้แน่นอน เพราะไลเคนไวต่อมลพิษมาก หากอากาศแย่ ไลเคนจะไม่อยู่เลย เหมือนกับนกขมิ้นในเหมืองถ่านหินของคนรุ่นก่อน — แต่คราวนี้เป็นนกขมิ้นที่เกาะอยู่ตามเปลือกไม้

จากห้องประชุมสู่สวนสาธารณะ

ทับทิมมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษของ มูลนิธิโลกสีเขียว อีกเช่นเดิมค่ะ 😀 ที่จัดกิจกรรม “นักสืบสายลม” ร่วมกับ อาจารย์ ดร.เวชศาสตร์ พลเยี่ยม (อาจารย์ป๊อด) ผู้เชี่ยวชาญด้านไลเคนอันดับต้นๆ ของประเทศไทย กับประสบการณ์การเดินป่า สำรวจไลเคนทั่วทุกอุทยานของไทยกว่า 20 ปี
อาจารย์เล่าว่า ทำงานวิจัยภาคสนามกับคณะฯ แล้วพบว่ายังไม่มีงานวิจัยศึกษาไลเคนของมหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างจริงจัง เลยเป็นเหตุให้กว่า 20 ปีให้หลังมา ทุกอุทยานป่าไม้ในประเทศไทยอาจารย์ได้เดินทางไปสำรวจไลเคนมาหมด แล้วมาพัฒนาพิพิธภัณฑ์ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ให้เป็นห้องสมุดไลเคนที่มากที่สุดในประเทศไทย เป็นไงละ ทำถึงแบบ expert แบบสุดๆจริงๆ
กิจกรรมครั้งนี้เราไปที่ สวนเบญจกิตติ และ สวนลุมพินี ในกรุงเทพฯ เพื่อเรียนรู้วิธีสำรวจและจดบันทึกไลเคน ซึ่งแม้จะอยู่กลางเมืองที่อากาศค่อนข้างท้าทาย แต่ไลเคนกลับยังมีชีวิตอยู่ และบางชนิดอาจารย์ก็ไม่เคยพบมาก่อนในพื้นที่นี้ด้วยซ้ำ
ไลเคนที่ทีมกิจกรรมครั้งนี้ค้นพบมีทั้งที่อยู่ในหนังสือ และชนิดพันธุ์ใหม่ที่ขนาดอาจารย์ป๊อดก็ไม่เคยเจอมาก่อนแถวสวนลุมพินีค่ะ เรียกได้เลยว่าขนาดกรุงเทพฯ ที่มีสารฟอร์มาลดีไฮด์จากรถบนถนน ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง มากกว่าในสหรัญอเมริกา 5 เท่า ยังพบเจอไลเคนจิ๋วๆ เยอะแยะจากทั้ง 2 สวนสาธารณะหลักของชาวกรุงเทพ ยิ่งรู้แบบนี้ เรายิ่ง

ไลเคนกับอนาคตของบรรจุภัณฑ์… อาจจะดูไกลตัว…แต่จริงๆ แล้ว ไม่เลย

1. ไลเคนผลิตออกซิเจน

ด้วยการสังเคราะห์แสงผ่านสาหร่ายในร่างของมัน เพิ่มอากาศดีให้เรา — สิ่งที่อุตสาหกรรมควรจะสนับสนุนมากที่สุด ไม่ใช่แค่ลดมลพิษจากการผลิต แต่ต้องช่วยฟื้นคืนสมดุลทางธรรมชาติด้วย

2.ไลเคนคือฐานวัตถุดิบชีวภาพ (Biomaterial)

ในอดีตใช้สกัดสีย้อมผ้าไหม ใช้ทำยา และในปัจจุบันมีการใช้สารสกัดจากไลเคนใน โรลออน Plant-based ที่หลายแบรนด์กำลังเป็นเทรนด์โลก — นี่อาจเป็น โอกาสใหม่ทางวัตถุดิบสำหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

3. ไลเคนบอกเราได้ว่า

พื้นที่ตรงไหนที่มีไลเคนเติบโตอยู่ คือ พื้นที่ ที่ ecosystem ยังสมบูรณ์ พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ที่เราควรอนุรักษ์ไว้ หากจะหาแหล่งผลิตกระดาษที่ยั่งยืน ควรเป็นป่าที่เราปลูกเพื่อผลิตกระดาษโดยเฉพาะ เราจึงจะไม่ทำลายธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว
ไลเคนเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตจิ๋วๆ ที่เราอาจไม่ทันสังเกต แต่ถ้าเราสังเกตให้ดี มันสะท้อนอนาคตของเราทุกคนอย่างลึกซึ้งและสำหรับ PICK A BOX แล้ว เราไม่ได้แค่ใส่ใจเรื่อง “กล่อง” …แต่ใส่ใจ “สิ่งแวดล้อมที่ธุรกิจกล่องจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน” ด้วย
เพราะ Packaging ที่ดีในยุคนี้
ไม่ได้แค่ต้อง “ห่อของได้”
แต่ต้อง “ไม่ห่อหุ้มปัญหาให้โลกใบนี้อีกต่อไป”
บทเรียนจากธรรมชาติครั้งนี้ ทำให้ทับทิมอดคิดไม่ได้ว่า การได้เรียนรู้บางทีอาจจะไม่ได้อยู่แค่ในห้องประชุม ไม่อยู่ในงบดุล หรือในรายงานการประชุม
แต่องค์ความรู้นั้นแอบอยู่บนเปลือกไม้…กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อย่างไลเคน ที่กำลังบอกเราว่า ถ้าเรายังอยากหายใจร่วมกับโลกใบนี้ต่อไป — เราต้องกลับไปเรียนรู้ธรรมชาติให้มากขึ้น
#PICKABOXCEOsTALK #นักสืบสายลม #มูลนิธิโลกสีเขียว #GWF #PICKABOX
หรือช้อปสินค้าพร้อมส่งได้เลย แค่คลิก!